4.แอลเอสดี
แอลเอสดี (อังกฤษ: Lysergic acid diethylamide - LSD) อาจเรียกว่า แอซิด เป็นสารเสพติดที่สกัดได้จากเชื้อราที่อยู่บนข้าวไรย์ เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรงที่สุด ผู้เสพนิยมเรียกว่า กระดาษเมา กระดาษมหัศจรรย์ หรือ สแตมป์มรณะ
ในปี ค.ศ. 1960 ทิโมที แลรี นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้ทดลองเสพสารแอลเอสดีและเสนอผลการเสพสารแอลเอสดีไว้ดังนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขทันที มีความคิดสร้างสรรค์ทางด้านดนตรีและศิลปะ เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงาน เพิ่มความไวของประสาทการรับรู้ ในระยะแรกได้มีการใช้สารนี้ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เสพในสมัยนั้นอายุมากกว่าในปัจจุบัน โดยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 21 ปี ต่อมาได้มีการเสพกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากหาซื้อง่ายเพราะมีขายกันทั่วไป และยังหลบเบี่ยงเจ้าหน้าที่ได้ง่าย กลุ่มผู้เสพที่สำคัญคือ นักดนตรี พวกฮิปปี้และบุปผาชน (flower children) ได้มีงานรื่นเริงฉลองการเสพแอลเอสดีอย่างเอิกเกริกและยิ่งใหญ่ เช่น งานฉลองฤดูร้อนแห่งความรัก (summer love) ที่เมืองซานฟรานซิสโก ในเวลาต่อมาสารแอลเอสดีได้แพร่ระบาดเข้าไปในกลุ่มวัยรุ่น และในทุกกลุ่มชนชั้นโดยเฉพาะชนชั้นกลางและร่ำรวย เด็กวัยรุ่นในกลุ่มเสพประท้วงรัฐบาลในการทำสงครามกับเวียดนาม ขอเพิ่มสิทธิมนุษยชนและอิสระในการพูดและแสดงความคิดเห็น ในระยะหลัง ๆ ผู้เสพแอลเอสดีได้ใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น กัญชา แอมเฟตามีนหรือเฮโรอีน ทำให้การเสพสารนี้กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่สำคัญ ร่วมกับปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม จึงได้มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้มีการตั้งองค์กรเรียกสถาบันการศึกษาเรื่องยาเสพติดแห่งชาติ
อาการและการออกฤทธิ์ แอลเอสดีในธรรมชาตินั้นมีในพืชมากกว่า 40 ชนิด เช่น หนังคางคก เมื่อแยกสารนี้ออกมาแล้วพบสารที่มีโมเลกุลคล้ายกับสารแอลเอสดี แต่ฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มและสบายใจนั้นมีน้อยกว่าเช่น ในเห็ดเม็กซิกันซึ่งเรียกกันว่า Psilocybe mexicana ชาวพื้นเมืองต่างถือกันว่าเป็นเห็ดเทพเจ้าที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้กินกันเมื่อมีพิธีกรรมทางศาสนา โดยเชื่อกันว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้เทพเจ้าเข้าสิง เพราะเกิดความมึนเมาและมีอารมณ์ประหลาดเกิดขึ้น เนื่องจากในเห็ดนี้มีสารไซโลไซบิน (psilocybin) ที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกันกับแอลเอสดีแต่น้อยกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น